ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้วินิจฉัยให้ ‘ตราฮาลาล’ ผิดกฎหมาย

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้วินิจฉัยให้ ‘ตราฮาลาล’ ผิดกฎหมาย

จากที่มีการรายงานของข้อมูลที่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ ตราฮาลาล ผิดกฎหมายนั้น จากการตรวจสอบพบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด (4 ก.ค. 2565) ตามที่มีข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย “ตราฮาลาล” ผิดกฎหมาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการแชร์ข้อความโดยระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญตีตราฮาลาลเป็นตราเถื่อน ผิดกฎหมาย ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 

ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำวินิจฉัย ในเรื่องการตีตราฮาลาลเป็นตราเถื่อน ผิดกฎหมาย ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีการพิจารณาถึงเรื่องนี้ ซึ่งข้อความดังกล่าวก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และก่อให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับองค์กร

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.constitutionalcourt.or.th หรือโทร. 1201

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องการตีตราฮาลาลเป็นตราเถื่อน ผิดกฎหมาย ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ชัยวุฒิ ให้สัมภาษณ์แจงปม ดราม่า PR ไม่เก่ง เท่า ชัชชาติ ชี้เป็นการชมการทำงานของผู้ว่า กทม. แต่สื่อไม่ดี ยืนยันไม่มีเจตนาแขวะ

นายชัยวุฒิ ธนาคามานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ให้สัมภาษณ์จากกรณีที่ตนเคยให้สัมภาษณ์เรื่องสายไฟ ว่าที่ผ่านมาทางรัฐบาลนำสายไฟลงดินมาตลอด แต่พีอาร์ไม่เก่ง เท่า นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ จนทำให้หลายฝ่ายมองว่าเป็นความเห็นแนวเหน็บแนมนั้น

ล่าสุด นาย ชัยวุฒิ และ นาย ชัชชาติ ได้หารือถึงประเด็นดังกล่าว โดยปิดห้องพูดคุยเป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาที ซึ่งหลังหารือทั้งสองได้เดินออกมาพร้อมกัน ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ถามว่าเคลียร์กันแล้วรึยัง โดยในประเด็นนี้ผู้ว่าชัชชาติ ระบุว่า รักกันอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเลย ตนอ่านข่าวแล้วไม่ได้รู้สึกอะไร และต้องขอขอบคุณรัฐมนตรี ที่เชิญมาหารือกันในวันนี้ด้วย

ขณะที่นาย ชัยวุฒิ กล่าวว่า นายชัชชาติเป็นรุ่นพี่วิศวะจุฬา รู้จักกันมานานแล้ว นับถือกัน ก่อนต่างฝ่ายจะยกมือไว้กัน

นาย ชัยวุฒิ กล่าวเพิ่มว่า ที่บอกว่า PR เก่ง ถือเป็นการชมรุ่นพี่ ที่ทำเรื่องประชาสัมพันธ์เก่ง เราก็จะต้องไปศึกษาทำตามแบบ เพราะท่านทำไว้ดีแล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนคำพูดที่หลายคนนำไปตีความว่า เป็นการแขวะ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า “ตนพูดดี จิตใจผมดีนะ แต่สื่ออาจจะไม่เข้าใจ”

รัฐบาล เผย รายชื่อประเทศห้ามพกกัญชา – กัญชง เข้าประเทศ

รองโฆษกรัฐบาล ได้ทำการเปิดเผยถึง รายชื่อประเทศห้ามพกกัญชา – กัญชง เข้าประเทศ และมีโทษรองรับ ในเบื้องต้นมีด้วยกันทั้งหมด 25 ประเทศ

รายชื่อประเทศห้ามพกกัญชา กัญชง – (4 กรกฎาคม 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำเตือนประชาชนคนไทยห้ามนำเข้า กัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของพืชชนิดดังกล่าวไปยังต่างประเทศ ยืนยันรัฐบาลปลดล็อกกัญชากัญชงเพื่อประโยชน์ทางด้านการแพทย์และเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ขอให้ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือยา ที่มีส่วนผสมของกัญชา ตลอดจนมีส่วนต่าง ๆ ของกัญชา กัญชงในครอบครอง ที่จะเดินทางไปต่างประเทศตรวจสอบกฎหมายของประเทศปลายทางเกี่ยวกับข้อกำหนด การอนุญาต ข้อห้ามโดยละเอียด หากพกติดตัวไปจะได้รับโทษ

โดยทางกระทรวงการต่างประเทศได้รวบรวมข้อมูล ดังนี้

– อินโดนีเซีย ปรับขั้นต่ำ 1 พันล้านรูเปียห์ โทษจำคุก 5 ปี – ตลอดชีวิต หรือโทษสูงสุดประหารชีวิต

– ญี่ปุ่น โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี (กรณีนำเข้า/ส่งออก) โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 3 ล้านเยน (กรณีจำหน่าย)

– เวียดนาม โทษปรับ 5,000,000 – 500,000,000 เวียดนามด่ง โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษสูงสุดประหารชีวิต เนปาล โทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน – 10 ปี โทษปรับ 2,000- 900,000 รูปี

– เกาหลีใต้ โทษจำคุก 5 ปีขึ้นไป หรือตลอดชีวิต (กรณีลักลอบนำเข้า) โทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปี (กรณีปลูก/จำหน่าย) โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และถูกเนรเทศห้ามเดินทางเข้าเกาหลีใต้อีก (กรณีครอบครองหรือเสพ)

– สิงคโปร์ โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือทั้งจำทั้งปรับ (กรณีครอบครองหรือเสพ) โทษประหารชีวิต (กรณีลักลอบค้า/นำเข้า/ส่งออก) โทษจำคุก 5-14 ปี หรือปรับ หรือทั้งจำและปรับ

– จอร์แดน,อิรัก,ปาเลสไตน์ โทษอย่างรุนแรงตามกฎหมายท้องถิ่น (กรณีครอบครองหรือเสพ)

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า